
ข้อกำหนดและแนวปฏิบัติในการจัดทำรายวิชาบน SRU MOOC
Thai MOOC (Thailand Massive Open Online Course) การศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของ โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานปลัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (เดิมคือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ), กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อช่วยผลักดันการยกระดับ คุณภาพการศึกษาไทย ขยายโอกาสทางการเรียนรู้ และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการใช้รูปแบบของการเรียนการสอนผ่านแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์ในระบบเปิด โดยเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ http://thaimooc.org/ นอกจากนี้โครงการ Thai MOOC ของประเทศไทย ที่ดำเนินการโดยโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยนั้น ยังได้ทำความร่วมมือระหว่างประเทศ กับโครงการ K MOOC ของประเทศเกาหลีใต้ และโครงการ J MOOC ของประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมกันพัฒนารายวิชา และยกระดับการศึกษาออนไลน์ MOOCs ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
คำจำกัดความ
- รายวิชา หมายถึง รายวิชาในหลักสูตรการเรียนการสอนปกติ หรือ ส่วนหนึ่งของรายวิชาในหลักสูตร การเรียนการสอนปกติ หรือ เนื้อหาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้
- ชั่วโมงการเรียนรู้ หมายถึง ระยะเวลาทั้งหมดที่ผู้เรียนใช้ในการเรียนรายวิชา (หน่วยเป็นชั่วโมง) ประกอบด้วย เวลาในการเรียนรู้จากสื่อวีดิทัศน์ เวลาในการเรียนรู้จากเอกสารความรู้ และเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนทั้งหมดของรายวิชา ฯลฯ
- ชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ หมายถึง ระยะเวลาทั้งหมดของสื่อวีดิทัศน์ที่ปรากฏในรายวิชา
รายวิชา MOOC
- รายวิชามีเนื้อหารวมอย่างน้อย 3 ชั่วโมงการเรียนรู้ และไม่เกิน 15 ชั่วโมงการเรียนรู้ โดยแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วย แต่ละหน่วยมีชั่วโมงการเรียนรู้อยู่ระหว่าง 1- 3 ชั่วโมง ทั้งนี้ในหนึ่งรายวิชา แนะนำให้มีระยะเวลาในการเรียนไม่มากกว่า 2 สัปดาห์
- แต่ละรายวิชาต้องมีการนำเสนอเนื้อหาด้วยสื่อวีดิทัศน์จำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 65 ของชั่วโมงการเรียนรู้ โดยสื่อวีดิทัศน์แต่ละคลิปมีความยาวไม่เกิน 10 นาที (ตัวอย่างการคำนวณ 1 ชั่วโมงการเรียนรู้ (60นาที) ต้องมีการนำเสนอเนื้อหาด้วยสื่อวีดิทัศน์ไม่น้อยกว่า 39 นาที)
- แต่ละรายวิชาต้องมีการนำเสนอเนื้อหาด้วยสื่ออื่น ๆ เช่น กิจกรรมการเรียนรู้ เอกสารอ่านเพิ่มเติม
- แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้อื่น ๆ จำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 35 ของชั่วโมงการเรียนรู้ (ตัวอย่างการคำนวณ 1 ชั่วโมงการเรียนรู้ (60นาที) ต้องมีการนำเสนอสื่ออื่น ๆ ไม่น้อยกว่า 21 นาที)
- ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระบบ โดยมีการออกแบบกิจกรรมการเรียน การวัดผล และปฏิสัมพันธ์เป็นไปตามหลักการเรียนการสอน MOOC ประเภท Self-paced learning
- แต่ละรายวิชาต้องมีการออกประกาศนียบัตรในระบบ หากผู้เรียนมีคะแนนรวมผ่านตามเกณฑ์
- การประเมินในรายวิชา โดยมีลายเซ็นอาจารย์ผู้สอนหลักกำกับในประกาศนียบัตร และการกำหนดเกณฑ์
- การประเมินของแต่ละรายวิชาต้องกำหนดไม่น้อยกว่า 70%
ขอบเขตและการดำเนินงาน
[rd_line type=”rd_line_double” color=”#1abc9c” use_icon=”yes” icon_color=”#1abc9c” icon_pos=”center” icon=”fa-cubes”]ทีมงานที่จัดทำรายวิชาจะต้องผ่านการอบรมเกี่ยวกับการใช้งานระบบ edX และการจัดการเรียนการสอนในระบบเปิด (MOOC) เพื่อดำเนินการออกแบบจัดทำรายวิชาเองทั้งหมดในระบบทดสอบ sandbox โดยดำเนินการ ดังนี้
ผู้รับผิดชอบรายวิชาหรืออาจารย์ผู้สอนหลักในรายวิชา จะต้องผ่านการอบรม และส่งมอบใบประกาศนียบัตร หรือหลักฐานคะแนนการอบรมที่ผ่านเกณฑ์ ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
[/iconbox2][rd_lists_ctn style=”rd_list_1″][rd_list i_color=”#2c3e50″ link=”https://www.edx.org/” icon=”fa-check-circle”]รายวิชา edX101: Overview of Creating an edX Course (จาก edX.org)[/rd_list][rd_list i_color=”#2c3e50″ link=”https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:ThaiMOOC+THAIMOOC002+2018/about” icon=”fa-check-circle”]รายวิชา edX101-Thai การออกแบบและผลิตรายวิชา MOOC (จาก thaimooc.org)[/rd_list][/rd_lists_ctn]
ผู้รับผิดชอบรายวิชา หรือทีมงานที่ทำหน้าที่จัดการรายวิชาในระบบ thaimooc.org จะต้องผ่านการอบรม และส่งมอบใบประกาศนียบัตร หรือหลักฐานคะแนนการอบรมที่ผ่านเกณฑ์ ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
[/iconbox2][rd_lists_ctn style=”rd_list_1″][rd_list i_color=”#2c3e50″ link=”https://www.edx.org/” icon=”fa-check-circle”]รายวิชา StudioX: Creating a Course with edX Studio (จาก edX.org)[/rd_list][rd_list i_color=”#2c3e50″ link=”https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:ThaiMOOC+THAIMOOC004+2018/about” icon=”fa-check-circle”]รายวิชา studioX-Thai การสร้างและการจัดการรายวิชา MOOC (จาก thaimooc.org)[/rd_list][/rd_lists_ctn]
ผู้รับผิดชอบรายวิชา หรือทีมงานที่ทำหน้าที่ผลิตสื่อในรายวิชา จะต้องผ่านการอบรม และส่งมอบใบประกาศนียบัตร หรือหลักฐานคะแนนการอบรมที่ผ่านเกณฑ์ ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
[/iconbox2][rd_lists_ctn style=”rd_list_1″][rd_list i_color=”#2c3e50″ link=”https://www.edx.org/” icon=”fa-check-circle”]รายวิชา VideoX: Creating Video for the edX Platform (จาก edX.org)[/rd_list][rd_list i_color=”#2c3e50″ link=”https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:ThaiMOOC+THAIMOOC003+2018/about” icon=”fa-check-circle”]รายวิชา studioX-Thai การสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC (จาก thaimooc.org)[/rd_list][/rd_lists_ctn]
รายวิชาแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการพัฒนารายวิชาในระบบ Thai MOOC
รายวิชา SU001: การพัฒนาวิชาและจัดการเรียนการสอนออนไลน์บนระบบ OPEN EDX
รวม LINK รายวิชาของผู้ผลิตรายวิชาที่จำเป็นต้องมี
แนวทางการจัดทำรายวิชา MOOC เพื่อสอนในระบบ Thai MOOC
การจัดทำรายวิชา MOOC เพื่อสอนในระบบ Thai MOOC มีมาตรฐานที่ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
โดยมีการกำหนดขอบเขตเพื่อใช้ในการดำเนินงาน 10 องค์ประกอบหลัก คือ

ข้อกำหนดด้านลิขสิทธิ์
- ผู้จัดทำสื่อจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ หากมีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ของผลงานสร้างสรรค์ที่ผลิตขึ้นในรายวิชา เช่น เนื้อหา ภาพ เสียง วีดิทัศน์ รูปแบบตัวอักษร สื่อการเรียนการสอน ข้อสอบ ซอฟต์แวร์
และผลงานสร้างสรรค์อื่น ๆ ที่มีลิขสิทธิ์ ที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน - ผู้จัดทำสื่อจะต้องต้องอนุญาตสิทธิ์ของสื่อ ภาพ เสียง วีดิทัศน์ เนื้อหาตามสัญญาอนุญาตสิทธิ์ Creative Commons อย่างน้อย CC BY NC SA
- สื่อและเนื้อหา รวมถึงผลงานสร้างสรรค์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้น จะเป็นลิขสิทธิ์ของหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ขอใช้พื้นที่จัดทำรายวิชา โดยทางโครงการ Thai MOOC ยินดีอนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา ผู้ผลิตผลงานสร้างสรรค์ และอาจารย์ผู้สอนหลักในรายวิชานำรายวิชา สื่อและเนื้อหาไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดการศึกษา และขอกำหนดตำแหน่งวิชาการ หรือเพื่อประโยชน์ทางวิชาการอื่น ๆ ได้
สื่อการเรียนรู้
ออกแบบสื่อให้สัมพันธ์และเหมาะสมกับการเรียนรู้เนื้อหารายวิชา ต้องมีความทันสมัย น่าสนใจ และการนำเสนอจะต้องกระตุ้นความสนใจให้อยากเรียนรู้ และใช้งานง่าย ซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนด ดังนี้
กำหนดให้นำส่งต้นฉบับสื่อวีดิทัศน์ และบทบรรยายแบบ SubRip Text (.srt) ใน รูปแบบซีดี/หรือดีวีดี/หรือสื่อสำรองข้อมูลดิจิทัลอื่น ๆ จำนวน 1 ชุด โดยมีคุณลักษณะ ดังนี้
1.1 มีคุณภาพคมชัด โดยอิงตามมาตรฐานสากลในระดับไม่น้อยกว่า HD อัตราส่วน 16:9
(ขนาดวีดิทัศน์ไม่น้อยกว่า 1280×720 พิกเซล)
1.2 การนำเสนอเนื้อหาในสื่อวีดิทัศน์ จะต้องมีภาพเคลื่อนไหวและเสียงของอาจารย์ผู้สอนร่วมอยู่ด้วย โดยกำหนดให้เลือกรูปแบบหลักที่เหมาะสมกับเนื้อหา และนำเสนออย่างน่าสนใจ ดังนี้ อาจารย์+ฉากเสมือน (มี Infographic ภาพ หรือ วีดิทัศน์ประกอบเต็มหน้าจอ), สัมภาษณ์ พูดคุยอภิปราย, ภาพเคลื่อนไหว (Animation), สาธิต (Demonstration) หรือ สถานการณ์จำลอง (Simulation), ถ่ายทำในสถานที่จริง หรือ ลงพื้นที่
1.3 การนำเสนอเนื้อหาในสื่อวีดิทัศน์ จะต้องมีวีดิทัศน์พร้อมเสียงหรือภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงของอาจารย์ผู้สอนภายใต้สังกัดสถาบันที่เสนอรายวิชาอย่างน้อย 10% ของชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ทั้งหมด
1.4 เนื้อหามีความเชื่อมโยงกับหัวข้อที่สอน และครอบคลุมตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้
1.5 มีคำบรรยาย (Close caption) ให้ผู้เรียนอ่าน โดยใช้ภาษาเขียน ภาษาทางการ ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลแบบ SubRip Text (.srt) และ Download ได้แบบ Text (.txt) โดยบทบรรยายขึ้นแสดงครั้งละไม่เกิน 1 บรรทัดเนื้อหา
1.6 กำหนดให้สื่อวีดิทัศน์แต่ละคลิป มีตราสัญลักษณ์ของสถาบันการศึกษาที่จัดทำสื่อ ปรากฏขึ้นมุมบนขวาเป็นระยะ (อย่างน้อย 3 ครั้งต่อคลิป) (หรือมีโลโก้ Thai MOOC ประกอบด้วย)
1.7 ในกรณีที่สื่อวีดิทัศน์มีส่วน Intro title และ End Credit ขอให้ใส่เฉพาะสื่อวีดิทัศน์คลิปแรกของหน่วยเนื้อหาหรือหัวข้อเท่านั้น โดยมีความยาวแต่ละส่วนไม่เกิน 30 วินาที และไม่ให้ใส่ Intro title และ End Credit ยาวเกิน 10 วินาทีในสื่อวีดิทัศน์ที่เป็นเนื้อหาย่อย
[/iconbox2]
(หรือสื่อเสริมในรายวิชา) ควรมีคุณลักษณะ ดังนี้
2.1 การนำเสนอเนื้อหาในสื่อต้องให้ผู้เรียนศึกษาได้ด้วยตนเอง และสามารถฝึกปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
2.2 รูปแบบของไฟล์ ที่สามารถทำได้อาทิ PDF, Power point, Word, Excel และ Image
2.3 เนื้อหามีความทันสมัย น่าสนใจ และการนำเสนอจะต้องทำให้ผู้เรียนสนใจอยากเรียนรู้
2.4 ตั้งชื่อหัวข้อให้ สื่อความหมายกับเนื้อหา
2.5 สีตัวอักษรและรูปแบบตัวอักษรควรจะสอดคล้องกัน
2.6 มีพื้นที่ว่างให้พอเหมาะ ไม่ควรให้ตัวอักษรแน่นเต็มพื้นที่ จะทำให้ผู้อ่านเบื่อและอ่านยาก
2.7 ข้อความควรจะแบ่งเป็นประโยคสั้น ๆ รวบรัด สามารถใช้สัญลักษณ์และตัวเลขสำหรับข้อลำดับ สามารถใส่รูปภาพเพื่อช่วยให้ผู้เรียนนึกจินตนาการตามได้ บางครั้งข้อความไม่สามารถอธิบายแนวคิดได้ดีเท่ากับภาพที่เรียบง่าย
2.8 หากใช้รูปประกอบให้คำนึงถึงความละเอียด ไม่น้อยกว่า 300 dpi
[/iconbox2]
รูปแบบของสื่อวีดิทัศน์ สื่อวีดิทัศน์ในรายวิชาประกอบด้วยวีดิทัศน์แนะนำรายวิชาและวีดิทัศน์นำเสนอเนื้อหา มีแนวทางและคุณลักษณะดังต่อไปนี้
- วีดิทัศน์แนะนำรายวิชา มีความยาวที่เหมาะสมในการนำเสนออยู่ ระหว่าง 1-3 นาที
- วีดิทัศน์นำเสนอเนื้อหา
- มีความยาวในการนำเสนอไม่เกินกว่า 10 นาทีต่อคลิป (หากเกินแนะนำให้ตัดเป็น 2 คลิป)
- เนื้อหาของสื่อมีความสอดคล้องกับหัวข้อเนื้อหา
- เนื้อหาที่นำเสนอมีความครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้
- แต่ละบทควรเริ่มต้นด้วยการนำเข้าสู่เนื้อหา นำเข้าสู่บทเรียน
- มีบทบรรยายเนื้อหา (Close caption) ที่ผู้เรียนสามารถอ่าน และสามารถ Download ได้ ในรูปแบบไฟล์ SubRip Text (.srt) format และแบบ Text (.txt)
- มีการฝังคำถามแทรกลงไปในเนื้อหาบทเรียน /หรือแยกจากกันแต่ประกอบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียนนั้น
- มีการระบุแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ ไว้ในบทเรียน
- ระดับเสียงในวีดิทัศน์จะต้องมีความดังอย่างสม่ำเสมอ และเสียงดังเท่ากันทุกคลิป โดยมีระดับความดัง ดังนี้
- Bit rate: 128kbps หรือดีกว่า
- Audio sample rate: 44kHz
- ระบบ Stereo ที่มีความดังเทียบเท่า Official Video ใน YouTube
- ไม่มีเสียงอื่นรบกวน (Noise) เสียงดนตรีประกอบไม่ดังเกินจนรบกวนเสียงบรรยาย
- ไฟล์วีดิทัศน์ จะต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้น Technical specifications: ดังนี้
-
-
-
- Codec: H.264 หรือดีกว่า
- Container: .mp4
- Resolution: ไม่น้อยกว่า HD (1280×720)
- Frame Rate: 97 fps
- Aspect: 0
- Bitrate: 5Mbps VBR
- Audio Codec: AAC 1KHz/192 Kbps
-
-
กิจกรรมการเรียน / การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
[rd_line type=”rd_line_double” color=”#1abc9c” use_icon=”yes” icon_color=”#1abc9c” icon_pos=”center” icon=”fa-graduation-cap”]1. ออกแบบกิจกรรมการเรียนในแต่ละหัวข้อย่อยที่เหมาะสม มีกิจกรรมการเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหา และกิจกรรมการเรียนที่สร้างปฏิสัมพันธ์
2. มีกระดานสนทนาทั่วไป สำหรับการสอบถาม หรือพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเนื้อหาความรู้ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง อย่างน้อย 1 กระดานสนทนาต่อรายวิชา
[/iconbox2]
1. การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-Test)
2. การประเมินผลระหว่างเรียนเป็นระยะ
3. การจัดการประเมินผลปลายทาง (Post-Test)
4. มีการกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนผ่านที่ชัดเจน (กำหนดสัดส่วน คะแนนสอบ และคะแนนกิจกรรมต่าง ๆ และผลรวมคะแนนที่สอบผ่าน)
5. ข้อสอบในรายวิชาต้องมีข้อสอบจำนวนไม่น้อยกว่า 4 ข้อต่อ 1 ชั่วโมงการเรียนรู้
[/iconbox2]